บันทึกการเรียนครั้งที่ 2
วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ.2559
ก่อนที่จะเริ่มเข้าสู่การเรียนการสอน อาจารย์ก็ได้เช็คชื่อการเข้าเรียนของนักศึกษา
พร้อมทั้งถามเหตุผลของนักศึกษาบางคนที่ไม่ได้เข้าเรียนเมื่อชั่วโมงที่แล้ว ต่อมาอาจารย์ก็นำ
กระดาษ A4 หนึ่งปึกมาให้นักศึกษาโดยการหยิบกระดาษไปคนละ 1 แผ่น ต่อ 1 คน
แล้วก็ส่งต่อไปเรื่อยๆจนถึงคนสุดท้ายของห้อง เมื่อได้ครบทุกคนแล้วก็นำกระดาษที่เหลือ
มาคืนอาจารย์ จากนั้นอาจารย์ก็ได้พูดคุยกับนักศึกษาและให้ความรู้เพิ่มเติม
สาระ
- การใช้เหตุ-ใช้ผล เป็นส่วนหนึ่งในเรื่องของ "คุณธรรม จริยธรรม"
- การแจกกระดาษแบบหยิบเก็บไว้คนละ 1 แผ่น แล้วส่งต่อไปเรื่อยๆจนครบทุกคน เรียกวิธีการนี้
ว่า "การจับคู่แบบ 1 ต่อ 1" ถ้ากระดาษเหลือแสดงว่า "กระดาษมากกว่าจำนวนคน"
หรือเรียกอีกอย่างว่า "การเปรียบเทียบกระดาษมากกว่ากับจำนวนคน"
- เมื่อมีการคิดก็ต้องมีการวิเคราะห์ของคณิตศาสตร์
- 1 2 3 4 5 6 7 8 9 0 > เลขพวกนี้ เรียกเต็มๆว่า "เลขฮินดูอารบิก"
- เมื่อมีการแสดงความคิดเห็น ความเข้าใจของคำว่า "คณิตศาสตร์" ก็จะทำให้รู้ถึงความหมาย
ของคำว่า "คณิตศาสตร์" คือ "การคิดคำนวณในชีวิตประจำวัน ที่มีองค์ประกอบ"
ประกอบด้วย ตัวเลข การวัด การคำนวณ การคิด บวก ลบ คูณ หาร เป็นต้น
- คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวันที่อยู่ใกล้ๆรอบตัวเรา มีอะไรบ้าง
(ความคิดเห็นของเพื่อน)
1. การเสียภาษี
2. จำนวนเงิน
3. เวลา
4. น้ำหนัก - ส่วนสูง
5. องศา
6. ระยะทาง
- เราใช้ คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือเหมือนกับภาษา ถ้าเด็กมีภาษา เด็กก็จะมีเครื่องมือไป
ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตัวเอง
สรุป
คณิตศาสตร์เป็นชีวิตประจำวัน คณิตศาสตร์เป็นครื่องมือทางภาษา จึงสะท้อนให้เห็นถึง
ความสำคัญของคณิตศาสตร์ ถ้าเราไม่มีคณิตศาสตร์ จะมีผลกระทบต่อตัวเรา อะไรที่เป็น
"ผลกระทบ" แสดงว่าสิ่งนั้น "สำคัญ"
เพิ่มเติม
My Mapping หัวข้อ "การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย"
สามารถแยกออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้
1. การจัดประสบการณ์ ประกอบด้วย หลักสูตร หลักการ แนวทาง การนำไปใช้
การจัดประสบการณ์โดยผู้ปกครอง สื่อ
2. คณิตศาสตร์ ประกอบด้วย ความหมาย ความสำคัญ สาระ ทักษะ ประโยชน์
3. เด็กปฐมวัย ประกอบด้วย ความหมาย การเรียนรู้ พัฒนาการ
ทักษะ
- ทักษะด้านการฟัง
- ทักษะด้านภาษา
การพูด การแสดงความคิดเห็น
- ทักษะด้านการคิดและการแก้ปัญหา
- ทักษะด้านการเขียน
การทำ My Mapping
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ
และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
อย่างมีประสิทธิภาพ
- การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สามารถแก้ปัญหาได้โดยการใช้วิธีการที่หลากหลาย
เพื่อนำมาใช้ได้อย่างเหมาะสม
- เราสามารถส่งเสริมพัฒนาการทางคณิตศาสตร์ให้เกิดการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยได้
เทคนิคการสอนของอาจารย์
- อาจารย์สอนโดยการตั้งประเด็นปัญหาขึ้นมา และได้ให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็น
เพื่อให้นักศึกษาเกิดทักษะในการวิเคราะห์และมีความกล้าแสดงออกที่จะตอบคถาม
- อาจารย์พูดเสียงดังฟังชัด
- อาจารย์สอนโดยการสอดแทรกคุณธรรมเข้ามาในการดำเนินชีวิตประจำวัน และรู้จัก
การใช้เหตุ - ใช้ผล
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
อาจารย์มีการเตรียมเนื้อหาการเรียนการสอนมาอย่างดี ให้คำแนะนำ และมีความเป็นกันเอง
กับนักศึกษา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น