บันทึกการเรียนครั้งที่ 5
วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
อาจารย์เริ่มสอนโดยการสร้างตารางไว้บนกระดานที่หน้าห้องเรียน ตารางมี 3 ช่อง
ช่องที่ 1 คือ ก่อน 7 โมง ช่องที่ 2 คือ 7 โมง ช่องที่ 3 คือ หลัง 7 โมง ต่อมาอาจารย์ก็ให้นักศึกษา
ทุกคนนำป้ายชื่อของตนเองไปติดบนกระดาน ให้ตรงตามเวลาที่ตนเองตื่นนอนของแต่ละช่อง
หลังจากที่ทุกคนติดป้ายชื่อของตนเองครบแล้ว อาจารย์ก็ได้อธิบายและให้ความรู้เกี่ยวกับ
การสร้างตารางการตื่นนอนของเด็ก เพิ่มเติม
สาระ
- คุณครู จะรู้ได้อย่างไรว่าเด็กแต่ละคนตื่นนอนเป็นเวลากี่่โมง และตรงตามที่เด็กนำป้ายชื่อมา
ติดบนกระดานหรือไม่ ?
คำตอบคือ ทางโรงเรียนหรือคุณครูประจำชั้นทำหนังสือถึงผู้ปกครองของเด็กแต่ละคน
ให้ทำแบบบันทึกการตื่นนอนของเด็ก และควรจะบอกเด็กหรือพูดแทนคำชมว่าวันนี้
ลูกตื่นเช้ามาก ตื่นเวลา 7 โมงเช้า เด็กก็สามารถจำหรือคุ้นเคยกับคำที่ผู้ปกครองพูดได้
- การที่เด็กนำป้ายชื่อมาติดบนกระดาน เราเรียกว่า การนำเสนอข้อมูล
- การนับจำนวนของเด็กแต่ละครั้ง ต้องมีตัวเลขฮินดูอารบิกกำกับทุกครั้ง
- ถ้าเด็กไม่สามารถเขียนได้ วิธีการแก้ไขคือ ต้องให้เด็กดู ภาพตัวเลข เพื่อที่จะให้เด็กจำ
จำนวนของตัวเลขได้แม่นยำขึ้น
- การออกแบบ แบบกลุ่มใหญ่ๆ สามารถนำมาปรับเปลี่ยนให้ยืดหยุ่นได้
- การลงมือปฏิบัติด้วยตนเองอย่างซ้ำๆ ทำให้เกิด วิธีการเรียนรู้
- ตัวเลขตัวสุดท้าย เราเรียกว่า เลขแทนจำนวน
- การบรรยาย คือ การพูดสรุปของการบรรยาย
- การตัดสินใจด้วยตนเอง > เราต้องใช้เกณฑ์เป็นหลัก
- การนำเสนอหน้าชั้นเรียน > ควรยืนให้เรียบร้อย ยืนอย่างสง่างาม หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส
สรุปบทความ (ของฉันเอง)
สามารเข้าดูเนื้อหาของบทความได้ที่
สรุปวิจัย และ สรุปโทรทัศน์ครู
เนื่องจาก เนื้อหาและข้อมูลของเพื่อนผิดพลาด จึงขอโอกาสอาจารย์นำข้อมูลกลับมาแก้ไข
ปรับปรุง และนำเสนอใหม่ในสัปดาห์หน้า !
ความรู้เพิ่มเติมจากเนื้อหาสาระในการเรียน
เพลงที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละแถว ช่วยกันปรับเปลี่ยนเนื้อเพลง จากเพลงเดิม คือ เพลงบวก-ลบ
ให้เป็นเพลงใหม่ โดยปรับเปลี่ยนเป็นอะไรก็ได้ ตามความชอบของสมาชิกกลุ่ม
เริ่มได้ค่ะ...................
v
v
v
กลุ่มของดิฉันเปลี่ยนจาก "แก้วน้ำ" เป็น "ควาย" ตามเนื้อเพลงใหม่ดังนี้
บ้านฉันเลี้ยงควายหกตัว ลุงให้อีกสี่ตัวนะเธอ
มารวมกันนับดีดีซิเออ ดูซิเธอรวมกันได้สิบตัว
บ้านฉันเลี้ยงควายสิบตัว หายไปสามตัวนะเธอ
ฉันหาควายแล้วไม่เจอ ดูซิเออเหลือเพี่ยงแค่เจ็ดตัว
คำคล้องจองคณิตศาสตร์
ลักษณะของหลักสูตรที่ดี
ทักษะ
- ทักษะด้านการออกแบบสื่อ
- ทักษะด้านการคิดวิเคราะห์
- ทักษะการคิดเลขและการนับจำนวน
- ทักษะการนำเสนอหน้าชั้นเรียน และการฟัง
- ทักษะด้านการพูด การร้องเพลง และการอ่านคำคล้องจอง
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- ตัวอย่างการออกแบบตารางเวลาการตื่นนอนของเด็ก เราสามารถนำไปเป็นแบบอย่างและ
นำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและอนาคตได้
- การนำเสนอหน้าชั้นเรียน เหตุผลของฉันคือ ฉันยังจำเนื้อหาส่วนบนไม่ได้เลยต้องอ่าน
ตามกระดาษที่ถือออกมา แต่อาจารย์บอกให้ฉันสรุปไม่ใช่อ่าน ฉันเลยสรุปเท่าที่ฉันจำได้
แต่ก็มีลืมบ้าง อาจารย์เลยให้ข้อคิดที่ดีๆกับฉัน ฉันจะนำข้อคิดและคำแนะนำอาจารย์มา
ปรับปรุงใช้ในการนำเสนอครั้งต่อๆไป
- การร้องเพลง การอ่านคำคล้องจอง ทำให้เรามีทักษะในการร้องเพลงและการอ่านมากขึ้น
และสามารถนำไปฝึกสอนให้กับเด็กๆได้
- การแต่งเพลง เราสามรถนำวิธีการปรับเปลี่ยนเพลง จากต้นฉบับให้เป็นเพลงที่มีเนื้อร้องใหม่
ไปใช้ในการแต่งเพลง หรือนำไปประกอบวิธีการสอนในอนาคตได้
เทคนิคการสอนของอาจารย์
- อาจารย์สอนโดยให้เหตุผล และสอดแทรกคุณธรรม เข้าไปกับเนื้อหาการเรียนด้วย
ถ้านักศึกษายังไม่เข้าใจ หรือยังทำไม่ถูกต้อง อาจารย์ก็จะอธิบาย ให้แนวทาง
และให้ข้อคิดดีๆกับนักศึกษา
- อาจารย์ให้โอกาสกับนักศึกษาทุกคน ถ้านักศึกษามีเหตุผลจำเป็นจริงๆ
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
อาจารย์เตรียมเนื้อหาการสอนมาครบถ้วน อาจารย์ให้คำแนะนำและข้อคิดตรงๆ นักศึกษาทำ
ผิดข้อไหน ตรงไหน อาจารย์ช่วยแก้ไขและให้โอกาสเริ่มใหม่ได้เสมอ อาจารย์น่ารัก เป็นกันเอง
กับนักศึกษา อาจารย์ตรงต่อเวลา และตรงต่อคำพูดมากค่ะ