วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2559

สรุปบทความ



เรื่อง     คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้แต่ง  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ไสยวรรณ
                 สาขาวิชาการจัดการการปฐมวัยศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

           การจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กควรเน้นการให้เด็กได้มีโอกาสจัดกระทำ
กับวัตถุประสงค์ต่างๆ เพราะเด็กในวัยนี้เรียนรู้โดยอาศัยประสาทสัมผัสรับรู้และการเคลื่อนไหว 
เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญา การจัดการเรียนรู้เน้นให้เด็กได้พัฒนาประสาทสัมผัส
ให้มากที่สุด และกระตุ้นให้เด็กได้คิดและมีโอกาสจัดกระทำ หรือลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ
          
          การจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง การจัดสภาพการณ์ใน
ชีวิตประจำวันของเด็กเป็นฐานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งครูต้องวางแผนการจัดการเรียนรู้
เป็นอย่างดี ประกอบด้วยกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กค้นคว้า แก้ปัญหา พัฒนาทักษะพื้นฐาน
ทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอด ที่เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ

ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วยความสามารถต่างๆดังนี้
     1. การจำแนกประเภท
     2. การจัดหมวดหมู่
     3. การเรียงลำดับ
     4. การเปรียบเทียบ
     5. รูปร่างรูปทรง
     6. พื้นที่
     7. การชั่งตวงวัด
     8. การนับ
     9. การรู้จักตัวเลข
   10. รู้จักความสำพันธ์ระหว่างจำนวนกับตัวเลข
   11. เวลา
   12. การเพิ่มและลดจำนวน

          จำนวนและตัวเลข เด็กปฐมวัยหากได้รับการเรียนรู้จากการปฏิบัติโดยการใช้สื่อของจริง
จะส่งผลให้มีทักษะการรับรู้เชิงจำนวน เนื่องมาจากธรรมชาติได้สร้างให้สมองของเด็กมีบริเวณ
ที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้เชิงจำนวน พัฒนาการด้านการรับรู้เชิงจํานวนและคณิตศาสตร์เริ่มตั้งแต่
ปฐมวัยและพัฒนาเรื่อยไปจนถึงวัยผู้ใหญ่

           การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น การวิเคราะห์ข้อมูลที่เหมาะสมในชั้นเรียนระดับปฐมวัย
คือ การเปรียบเทียบและการประมวลข้อมูล หลายกิจกรรมในชั้นเรียนปฐมวัยเกี่ยวข้องกับ
การวิเคราะห์ข้อมูล เด็กปฐมวัยสามารถสร้างกราฟโดยใช้ของจริง 
      เช่น 
          - การสร้างกราฟ การประมวลข้อมูลเกี่ยวกับเด็กๆ เลือกเวลารับประทานอาหารว่าง
         - กราฟการเดินทางมาโรงเรียนของเด็ก ประกอบด้วยข้อมูลการเดินด้วยเท้า จักรยาน รถบัส 
            และรถส่วนตัว
         - กราฟหัวข้อจํานวนของเด็กที่เกิดในวันต่างๆ

          การจัดระบบและการวิเคราะห์ข้อมูล เด็กปฐมวัยมีความสามารถทางการคิด ระดับสูง 
คือ การวิเคราะห์ ซึ่งเป็นการนําข้อมูลมาเปรียบเทียบและจำแนกหรือแบ่งเป็นกลุ่มที่มี 
ความคล้ายกันหรือเหมือนกันต่อมาเด็กสามารถเปลี่ยนแปลง ข้อมูลไปสู่รูปแบบที่แตกต่างกัน 
เช่น ตาราง กราฟ แผนภูมิหรือวิธีการอื่น ๆ เด็กปฐมวัยมีความสามารถวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ
ด้วยตนเองโดยใช้ตาราง หรือกราฟ ดังนี้


การใช้ตาราง 
เด็กปฐมวัยสามารถสร้างตารางจากการนับ โดยเด็กๆเป็นผู้ปฏิบัติเอง 
เช่นเด็กได้บันทึก แมลงประเภทต่าง ๆ จากการสังเกตบนพื้นดิน เด็กๆ สามารถจัดระบบข้อมูลให้
เป็นตารางบน กระดาษ ตารางแบ่งเป็นหมวดต่างๆ  
          เช่น ชื่อแมลงแต่ละประเภท ภาพวาดของแมลง และจํานวนของแมลง

การใช้กราฟ 
เด็กปฐมวัยคนที่ยังไม่มีความเข้าใจเรื่องของจํานวน ควรส่งเสริมให้                           
สร้างกราฟของจริง  เช่น ถ้าเด็กปฐมวัยกําลังนับจำนวนของเมล็ดผักและผลไม้                        
เด็กๆ สามารถขีดเส้นจำนวนของเมล็ดฟักทอง แตงโม และแคนตาลูป  
            
           นอกจากนี้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นการนําข้อมูลที่เก็บรวบรวมจากแบบ 
บันทึกการสังเกต จากแบบสอบถาม และจากภาพถ่าย มาเปรียบเทียบ จัดหมวดหมู่และหา 
ความสัมพันธ์โดยสร้างเป็นแผนภูมิลําดับเหตุการณ์ เป็นแผนที่เป็นต้น

            
สรุป 
           คณิตศาสตร์สําหรับเด็กปฐมวัย  เป็นการจัดสภาพการณ์ในชีวิตประจําวันของเด็กเป็น 
ฐานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยครูจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กค้นคว้า แก้ปัญหา พัฒนา 
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอด ที่เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ เรียนรู้ 
ด้วยการปฏิบัติจริง บรรยากาศการเรียนรู้ที่สบายๆ กิจกรรมสอดคล้องกับชีวิตประจําวันและ 
เชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมจะช่วยพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอด 
ได้ดีขึ้น




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น