วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10
วันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2559

          บรรยากาศการเรียนการสอนในวันนี้ ไม่ค่อยดีนักเท่าไหร่ เนื่องจากมีข้อผิดพลาดเรื่อง
อาคารเรียนและห้องเรียน ไม่ไม่สะดวกต่อการเรียน เลยทำให้มีเวลาเรียนในวันนี้น้อย แต่พวกเรา
และอาจารย์ก็พยายามทำให้ได้เรียนตามความพยายาม 

สาระ
     - การออกแบบแผนผังความคิดสามารถออกแบบได้หลายรูปแบบตามความต้องการ
       ของผู้ออกแบบ
     - การเขียนแผนผังความคิดควรเขียนโดยการแยกทีละหน่วย และเขียนให้ชัดเจน เพื่อที่จะให้
       เด็กเกิดการเรียนรู้ที่ง่ายและเข้าใจ

ผลงานของเพื่อนมีดังนี้
                                                             1. หน่วยผลไม้
                                                             2. หน่วยกล้วย กล้วย
                                                             3. หน่วยของเล่นกับของใช้
                                                             4. หน่วยยานพาหนะ











ทักษะ
     - ทักษะด้านการฟัง

     - ทักษะด้านการออกแบบแผนผัง

     - ทักษะด้านการคิด

     - ทักษะด้านการแก้ไขปัญหา


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
     นำความรู้ที่อาจารย์ให้เพิ่มเติมมา ไปแก้ไขงานในครั้งต่อไปให้ดีกว่าดิม และยังสามารถนำ
ตัวอย่างแผนผังไปใช้ในอนาคตได้


เทคนิดคการสอนของอาจารย์
     อาจารย์สอนโดยให้คำติชม ให้ข้อคิดในการทำงานเป็นอย่างดี และยังให้ข้อสรุปในการออกแบบ
การเขียนแผนผังความคิดให้เข้าใจมากขึ้น 


ประเมินอาจารย์ผู้สอน
     อาจารย์น่ารักมากค่ะ อาจารย์พยายามหาห้องเรียนให้กับนักศึกษาจนได้ แต่ก็ไม่ดีนัก 
เพราะห้องเรียนมีแต่ฝุ่นเต็มไปหมด เพื่อนักศึกษาอาจารย์ทำให้ได้ทุกอย่างจริงค่ะ






บันทึกการเรียนครั้งที่ 9
วันพุธที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2559


สาระ
    - โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศน์ อยู่ในสังกัด สำนักนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
    - โรงเรียนที่อยู่ในกรุงเทพมหานคร อยู่ในสังกัด สำนักงานการปกครองส่วนพื้นฐาน
    - การเรียนการสอนของโรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศน์ มีการสอนครบทั้ง 6 สาระการเรียนรู้
    - เด็กนักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ส่วนคุณครูมีหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวก
    - การเลือกหน่วยการเรียนการสอน ควรมีหลักคิดในการเลือก
    - การแยก อยู่ในสาระของ จำนวนและการดำเนินการ
    -การออกแบบหน่วยการสอน สามารถออกแบบได้ตามสาระการเรียนรู้ทั้งหมด 4 สาระ ดังนี้
     1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก  2. บุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก  3. ธรรมชาติรอบตัวเด็ก
     4. สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก


        
( การออกแบบหน่วยของฉันคือ หน่วยของหวานของหนู )


      สรุปวีดีโอ

เรื่อง คณิตศาสตร์ (ตัวเลข) สำหรับเด็กปฐมวัย
นำเสนอโดย นางสาวภทรธร รัชนิพนธ์

          ครูอแมนดา แม็กเคนนา หัวหน้าครูระดับชั้นป.1-2 เชื่อว่าการเรียนคณิตศาสตร์ควร
สนุกสนานและเป็น­ส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ที่โรงเรียนเกรตบาร์ การเรียนรู้อย่างอิสระ
ผ่านการเล่นเป็นหัวใ­จสำคัญในการพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ของนักเรี­ยน 
ขณะนี้โรงเรียนกำลังมุ่งส่งเสริมให้เด็ก ๆ รู้สึกเป็นอิสระที่จะขบแก้ปัญหาคณิตศาสตร์­
ด้วยต้วเอง และพัฒนาทักษะเช่น การจดจำตัวเลข การจัดลำดับและการคำนวณไปด้วย 
     ซึ่งครูจะหยิบตัวเลข 6 แล้วบอกว่าตัวนี้เลข 4 ใช่ไหม ลองเชิงเด็กๆว่าสนใจอยู่ไหม 
เด็กๆก็จะบอกว่านั้นไม่ใช่เลข 6 แต่เป็นเลข 4 และครูก็ให้เด็กๆออกมาหยิบดูว่าเลข
ที่แท้จริงเป็นแบบไหน  ครูจะสาธิตวิธีประเมินเด็ก ๆ ผ่านการสังเกตการณ์ในแต่ละวัน 
และวิธีนำข้อมูลที่ได้เข้าที่ประชุมครูเพื­่อวางแผนการสอนต่อไป โรงเรียนเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่า 
หากเด็ก ๆ รู้สึกสนุกกับวิชาเลขตั้งแต่ชั้นเล็ก ๆ แล้ว ผลการเรียนรู้ในชั้นปีอื่น ๆ ก็จะเปลี่ยนไป
ในทางดีด้วย

       สิ่งสำคัญ : การสอนคณิตศาสตร์ เด็กเล็ก เกม กิจกรรมนอกห้องเรียน เรียนรู้ผ่าน
ชีวิตประจำวันเลขในชีวิตประจำวัน การสร้างแรงบันดาลใจ สื่อการสอน การวัดประเมิน 
การสังเกตการณ์ การทำงานเป็นทีม การประชุมครู การวางแผนการสอนร่วมกัน การแข่งขัน 
ความสนุกในการเรียนคณิตศาสตร์ มีความสนุกกับตัวเลข การจัดลำดับ การจดจำตัวเลข การคำนวณ คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ผ่านการเล่น โดยการศึกษาแบบอิสระ การเรียนรู้
อย่างอิสระ ความร่วมมือระหว่างครูและผู้ปกครอง scaffolding การแนะแนวร่วมไปถึง
การเรียนรู้ด้วยตัวเอง ในด้านทักษะการคิดวิเคราะห์อีกด้วย 

สรุปวีดีโอ



เรื่อง ไข่ดีมีประโยชน์
นำเสนอโดย นางสาวจิราภรณ์ ฟักเขียว

         โดยคุณครูรจนา สังวรสินธุ์ โรงเรียนวัดไทรใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ได้สอนกิจกรรม
เสริมประสบการณ์เรื่องไข่ดีมีประโยชน์ทำให้เด็กได้สามารถเรียนรู้เนื้อหาเกี่ยวกับไข่ 
ชนิดของไข่ส่วนประกอบของไข่ ประโยชน์ของไข่ว่าทำให้ร่างกายแข็งแรงแล้วก็อยาก
ให้เด็กอยากหรือชอบที่จะรับประทานไข่ แล้วก็เด็กยังสามารถนำไข่มาประกอบอาหารได้

        กิจกรรมที่ 1 คือให้เด็กเล่นเกมส่งไข่เป็ดโดยเด็กจะมีประสบการณ์เดิมแล้วว่าไข่เป็นสิ่งที่
แตกได้ง่ายกิจกรรมนี้จะเป็นการฝึกสมาธิให้เด็กได้คิดว่าจะทำอย่างไรส่งไข่ให้เพื่อนแล้ว
ไข่ไม่แตกเวลาส่งไข่ให้เพื่อนตาต้องมองไปที่เพื่อนตากับมือต้องสัมพันธ์กันทำให้เพื่อน
สามารถรับไข่ได้ไข่ก็จะไม่ตกลงพื้น


        กิจกรรมที่ 2 ครูเล่านิทานเรื่องไข่ของใครโดยนิทานเรื่องนี้เด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับสีและได้
รู้จักสัตว์เพิ่มมากขึ้นได้รู้ว่าสัตว์อะไรที่ออกลูกเป็นไข่บ้างในขณะเล่านิทานเด็กจะมีส่วนร่วม
ในการตอบคำถามของครูซึ่งการมีส่วนร่วมทำให้เด็กกล้าแสดงออกแล้วทำให้เด็กมี
ประสบการณ์มากขึ้นเกี่ยวกับเนื้อหาในนิทานครูนำนิทานที่เป็นสัตว์ของจริงมาให้เด็กดู
เพราะจากในนิทานกับรูปภาพของจริงนั้นแตกต่างกันให้เด็กมีประสบการณ์จริงๆว่าสัตว์ที่
ออกลูกเป็นไข่มีรูปร่างลักษณะเป็นอย่างไรเด็กจะเห็นภาพชัดเจนเป็นรูปธรรมและเข้าใจได้ง่าย

       กิจกรรมที่ 3 ให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับไข่ให้เด็กได้ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ใน
การสังเกต จำแนก เปรียบเทียบดูว่าไข่แต่ละชนิทมีลักษณะอย่างไรแตกต่างกันอย่างไรซึ่งให้เด็ก
ช่วยกันแยกไข่จากตะกร้าใบใหญ่มาใส่ตะกร้าใบเล็กๆที่ครูแบ่งไว้ทั้งหมดห้าตระกล้าเล็กๆ 
นอกจากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แล้วไข่ยังบูรณาการเข้ากับคณิตศาสตร์ได้อีกด้วย
โดยเด็กได้เรียนรู้ในเรื่องของจำนวนตัวเลขได้มีการนับเปรียบเทียบมากน้อยจำนวนเท่ากัน
ไม่เท่ากัน โดยครูให้เด็กช่วยนับไข่ในตระกล้าที่เด็กช่วยกันแยกว่าแต่ละตะกร้ามีใครกี่ฟอง
ครูถามเด็กว่าไข่ตะกร้าไหนเยอะที่สุดเด็กตอบว่าไข่นกกระทาเพราะมี 10 ฟอง 
ครูถามว่าใข่ในตะกร้าไหนน้อยที่สุดนั้นก็คือไข่เป็ดเพราะมีอยู่ 2ฟอง ละครูก็ถามว่า
ตะกร้าไหนมีจำนวนไข่ที่เท่ากันเด็กก็ตอบว่าไข่เค็มกับไข่เยี่ยวม้าที่มีจำนวนไข่ที่เท่ากัน
ครูจึงพิสูจน์โดยการนำไข่มานับกันเป็นคู่หนึ่งต่อหนึ่งผลพิสูจน์คือไข่ทั้งสองมีจำนวนที่เท่ากัน 
หลังจากที่เด็กได้รู้ส่วนนอกของไข่เเล้วเด็กก็จะได้เรียนรู้ส่วนประกอบของไข่ว่าไข่แต่ละชนิด
มีส่วนประกอบที่แตกต่างกันอย่างไรเช่นไข่ขาวของไข่เยี่ยวม้าจะมีเนื้อสีนำ้ตาลดำ
ส่วนไข่เค็มเนื้อไข่ขาวของไข่เค็มจะมีสีขาวเด็กจะได้รู้ความแตกต่างระหว่างไข่เค็ม
กับไข่เยี่ยวม้า ไข่เป็ดกับไข่ไก่อาจจะมีลักษณะใกล้เคียงกันครูควรพยายามชี้แหนะให้
เด็กเห็นถึงความแตกต่างระหว่างไข่เป็ดกับไข่ไก่โดยอาจจะมีคำถามว่าลักษณะของไข่แดง
ของไข่เป็ดเเละไข่ไก่เป็นอย่างไรสีเหมือนกันไหมแล้วตอกไข่ให้เด็กดูเด็กก็จะสามารถ
ตอบได้ว่าไข่เป็ดและไข่ไก่มีไข่แดงที่สีแตกต่างกัน ขนาดของไข่เป็ดใหญ่กว่าไข่ไก่

          กิจกรรมที่ 4 เป็นกิจกรรมคุกกิ้งคือไข่หวานโดยเด็กสามารถประกอบอาหารที่มีขั้นตอนง่ายๆ
ได้และเด็กจะเกิดความภาคภูมิใจที่สามารถประกอบอาหารรับทานเองได้ครูให้เด็กร่วมกัน
ทำคุกกิ้งเด็กได้รู้ปริมาณการใส่เครื่องปรุงว่าต้องใส่น้ำหกถ้วยตวงและใส่น้ำตาลหนึ่งถ้วยตวง 
ขั้นตอนการตอกไข่ครูได้สาธิตให้เด็กดูก่อนพอให้เด็กตอกไข่ครูก็สามารถเข้าไปช่วยได้
เพราะเด็กอาจจะยังไม่มีประสบการณ์การตอกไข่กล้ามเนื้อมือกับตาตายังไม่ประสานสัมพันธ์
กันเด็กไม่สามารถก่ะได้ว่าต้องกดมือให้ไข่ลงตรงถ้วยพอดีหลังจากนั้นให้เด็กลงมือ
ตอกไข่ใส่ถ้วยแล้วใส่ลงหม้อโดยครูสาธิตในการใส่ไข่ลงหม้ออย่างไรให้ถูกวิธี
 เด็กได้มีประสบการณ์เรียนรู้ได้ด้วยตนเองจากการกระทำ leaning by doing เด็กจะเกิด
ประสบการณ์ตรงและเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการศึกษาที่สูงขึ้น


 สรุปวิจัย

เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะ                     สร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
นำเสนอโดย นางสาวสุวนันท์ สายสุด

       ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองที่มุ่งศึกษาพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
ของเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

ความมุ่งหมายของวิจัย
  เพื่อเปรี่ยบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัด
กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

สมมติฐานในการวิจัย
  เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดรูปแบบกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้มีพัฒนาการทักษะ
พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกัน

ขอบเขตการวิจัย
  นักรียนระดับปฐมศึกษา ชาย-หญิง โรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ จำนวน 10 ห้อง

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
   1.แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
   2.แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์การสร้างแผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
      เพื่อการเรียนรู้

สรุปผลวิจัย
  เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์มีคะแนนเฉลี่ยทักษะพื้นฐานทาง
คณิตศาสตร์ โดยรวม 5 ทักษะและการจำแนกรายทักษะ คือ ทักษะการบอกตำแหน่ง 
ทักษะการจำแนก ทักษะการนับ ทักษะการรู้ค่าของจำนวน และทักษะการเพิ่ม-ลด 
อยู่ในระดับที่ดี และเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ มีพัฒนาการ
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในทุกทักษะสูงขึ้น

แผนการสอนการจัดกิจกรรมรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
      หน่วย ต้นไม้  หน่วยย่อย ขนาดของต้นไม้

มโนท้ศน์  ต้นไม้มีขนาดแตกต่างกัน เช่น ต้นใหญ่ ต้นเล็ก ต้นสูง

จุดประสงค์
    - สามารถจำแนกจำแนกขนาดต้นไม้ได้

กิจกรรมศิลปะ  ศิลปะค้นหา

กิจกรรมการเรียนการสอน
   ขั้นนำ
       1.กระตุ้นการเรียนรู้ คือ ให้สิ่งเร้าที่สอดคล้องกับสาระ
       2.กรองสู่มโนทัศน์ คือ กระตุ้นให้สะท้อนคิดและโยงความรู้เพื่อให้เข้าใจมากขึ้น
   ขั้นสอน
       1.ครูพาเด็กออกไปสังเกตต้นไม้ในบริเวนสนามเล่นในโรงเรียน บอกจุดประสงค์ว่าจะ
          เรียนเรื่องขนาดของต้นไม้
       2.สนทนา ตั้งคำถามกับเด็กเกี่ยวกับต้นไม้ เช่น เด็กๆคิดว่าต้นไม้ในสนามมีขนาดเท่ากัน
          หรือไม่  ต้นไม้ต้นไหนใหญ่ที่สุด  ต้นไม้มีจำนวนกี่ต้น (ให้เด็กร่วมกันนับ)
       3.ครูแจกกระดาษให้เด็กๆวาดรูปต้นไม้ที่ตนเองชอบ

สรุป
      ให้เด็กๆถามเกี่ยวกับผลงานของเพื่อนและร่วมกันสรุปการทำกิจกรรมในครั้งนี้

สื่อ
     1.ดินสอ
     2.กระดาษ
     3.ต้นไม้ที่สนามเด็กเล่น (ของจริง)

ประเมิน
     1.สังเกตการตอบคำถามเกี่ยวกับต้นไม้ของเด็ก
     2.สังเกตความสนใจในการทำกิจกรรม
     3.สังเกตผลงานศิลปะของเด็ก


ทักษะ
     - ทักษะการคิดและวิเคราะห์

     - ทักษะการฟัง

     -ทักษะการทำแผนผังความคิด หรือ My Mapping

     - ทักษะการสรุปข้อมูล


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
     - การศึกษาดูงานนอกสถานที่ ทำให้เรามีประสบการณ์มากขึ้น
     - การสังเกตการสอนของอาจารย์ที่โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศน์ เราได้รับความรู้เพิ่มเติมมากมาย
       จากการสังเกต ยังเรายังได้แบบอย่างที่ดีในการสอนด้วย
      
   
เทคนิคการสอนของอาจารย์
     - อาจารย์สอนโดยการยกตัวอย่างให้เห็นชัด สอนเป็นไปตามลำดับขั้นตอน และให้เหตุผล
       เมื่อนักศึกษาไม่เข้าใจ
     - อาจารย์สอนโดยให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นร่วมกัน และเล่าประสบการณ์จากการ
       ไปสังเกตเด็กและการสอนมา


ประเมินอาจารย์ผู้สอน
     อาจารย์สอนสนุกสนาน ไม่เครียด และมีความเป็นกันเองกับนักศึกษาทุกคน อาจารย์เตรียม
เนื้อหาการสอนมาได้ดีมาก ถึงแม้จะมีเหตุการณ์ผิดพลาดเกิดขึ้นก็ตาม แต่อาจารย์ก็พยายาม
ให้ความรู้กับนักศึกษาอย่างเต็มที่





บันทึกการเรียนครั้งที่ 8
วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2559

ศึกษาดูงานนอกสถานที่ 
โรงเรียน อนุบาลพิบูลเวศน์


สาระ

     สื่อและอุปกรณ์การเรียนการสอน
           


บล็อกไม้ รูปทรง เรขาคณิต ต่างๆ



โทรศัพท์ / เพื่อให้เด็กรู้จักเกี่ยวกับตัวเลข

การระดมความคิด / เพื่อให้เด็กรู้จักการใช้ความคิด และร่วมแสดงความคิดเห็น



โครงการนก / เป็นสื่อการสอนที่ให้เด็กรู้จักจำนวนของตัวนกว่ามีกี่ตัว



โครงการปลา / เป็นสื่อการสอนที่สอนให้เด็กรู้จักว่าปลามีจำนวนกี่ตัว
และปลาสามารถอยู่ในน้ำได้กี่ประเภท



โครงการก้อนหิน / เป็นสื่อการสอนที่ให้เด็กรู้จักกับจำนวนของก้อนหิน และให้เด็ก
นำก้อนหินมาออกเป็นเป็นอย่างอื่นได้

คณิตศาสตร์ การชั่ง การวัด การเปรียบเทียบ / เป็นการสอยขั้นพื้นฐาน
เพื่อให้เด็กมีความรู้ การเตรียมความพร้อมก่อนเรียนในระดับชั้นประถมศึกษา


การทำกิจกรรมและผลงานของเด็กๆ








     
     กิจกรรมหรือการจัดสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์
         หลักในการจัดประสบการณ์ตามสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนเรียน โดยการสอนแบบธรรมชาติ
สอนแบบบูรณาการ และเพิ่มการสอนแบบ Project Approach เข้ามาในการสอน เพื่อให้เด็ก
ได้แสดงความคิดเห็น การตั้งคำถามโดยการใช้เหตุผล การทำงานเป็นลำดับขั้นตอน และการเล่าประสบการณ์เดิมจากที่เคยเรียนรู้มา 
     
     การจัดกิจกรรมทางด้านคณิตศาสตร์
          การนับถือว่าเป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จักเด็ก จะเชื่อมโยงตัวเลข
กับสิ่งต่างๆกิจกรรมที่เกี่ยวกับการนับควร ให้เด็ก ได้ฝึกจากประสบการณ์จริง โดยการใช้
กิจกรรมหลักทั้ง 6 กิจกรรมเป็นข้อมูลพื้นฐานในการเรียนรู้คือ
        1. กิจกรรมเกมการศึกษา
        2. กิจกรรมเสรี
        3. กิจกรรมสร้างสรรค์
        4. กิจกรรมเสริมประสบการณ์
        5. กิจกรรมการเคลื่อนไหว
        6. กิจกรรมกลางแจ้ง

        เด็กสามารถนำทักษะทางคณิตศาสตร์มาเรียนรู้ได้ เช่น การแยกแยะ สี ขนาด จำนวน 
การนับ น้ำหนัก เป็นต้น 

    ตัวอย่าง การทำกิจกรรมของเด็กๆ
          1. การวาดตัวปลา
          2. การร้อยลูกปัด ร้อยกำไล
          3. การเรียงก้อนหิน
          4. การทำแผนภูมิความรู้เรื่อง ปลา
          5. การชั่งหิน


     การวัดและประเมินผล
           การประเมินตัวเด็ก เราสามารถประเมินได้ตามสภาพจริง แต่การประเมินมีหลายรูปแบบ
และสามารถประเมินพัฒนาการของเด็กได้ทั้ง 4 ด้าน คือ
           
           1. ด้านร่างกาย
               พัฒนาการทางร่างกาย ของเด็กปฐมวัย จะเป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะ
เรื่องส่วนสูงและน้ำหนัก  และการช่วยเหลือตนเองของเด็ก ก็ดีขึ้นเป็นลำดับ

          2. ด้านอารมณ์
              เด็กในช่วงปฐมวัย จะมีพัฒนาการทางอารมณ์มากขึ้น เพราะมีพัฒนาการด้านร่างกาย 
ทำให้เด็กสามารถแสดงความต้องการของตนได้มากขึ้น 
          
         3. ด้านสังคม 
             อยู่ในวัยที่เริ่มออกนอกบ้าน เรียนรู้ที่จะมีความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น โดยเฉพาะ
กับเด็กวัยเดียวกันซึ่งเด็กแต่ละคนจะมีพฤติกรรมการเข้าสังคมและการเล่นที่ต่างกันออกไป 

        4. ด้านสิปัญญา
            เด็กปฐมวัย สามารถพัฒนาความสามารถทางสติปัญญาให้เพิ่มมากขึ้นด้วยการ
ส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม และการจัดกิจกรรมที่เหมาะสม เด็กจะเรียนรู้ด้านคำศัพท์และภาษา
มากขึ้น ช่างซักถาม อยากรู้อยากเห็น เรียนรู้สิ่งต่างๆ จากการกระทำและการใช้ประสาทสัมผัส
ของเด็กเอง คือ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง มีความคิดและเหตุผล ที่ยังไม่สมบูรณ์

    การประเมิน สามารถประเมินได้ดังนี้
         1. การสังเกตจากการทำกิจกรรมของเด็ก และบันทึกผล
         2. การสัมภาษณ์                                                         
         3. แฟ้มผลงานเด็ก                                                             
         4. การใช้แบบประเมินผลพัฒนาการ

     * หมายเหตุ แบ่งเกณฑ์การประเมิน 3:2:1 

        หลักการในการประเมิน
        1. ประเมินพัฒนาการของเด็กครบทุกด้านและนำผลมาพัฒนาเด็ก
        2. ประเมินเป็นรายบุคคลอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องตลอดปี
        3. สภาพการประเมินควรมีลักษณะเช่นเดียวกับกิจกรรมประจำวัน
        4. ประเมินอย่างเป็นระบบ มีการวางแผนเลือกใช้เครื่องมือ และจดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน
        5. ประเมินตามสภาพจริงด้วยวิธีการหลากหลายเหมาะกับเด็ก รวมทั้งใช้แหล่งข้อมูล
            หลายๆ ด้าน ไม่ควรใช้การทดสอบ


 ทักษะ
     - ทักษะด้านภาษา

     - ทักษะด้านตัวอย่างการสอน ( แบบธรรมชาติ , แบบบูรณาการ . แบบ Project Approach )

     - ทักษะด้านการฟัง

      - ทักษะด้านการคิดวิเคราะห์เชิงเหตุผล

     - ทักษะด้านการพูด ( การตั้งคำถาม และการตอบคำถามจากคุณครูวิทยากร )


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
     - สามารถนำความรู้ในด้านการสอนต่างๆ ไปประยุกต์ใช้ในอนาคตได้
     - ตัวอย่างการทำกิจกรรมของเด็ก และสื่อการสอน เราสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
       และในช่วงการฝึกสอนได้
    

เทคนิคการสอนของอาจารย์
     อาจารย์วิทยากรสอนโดยให้ความรู้พื้นฐานทางโรงเรียนก่อน หรือเรียกอีกอย่างว่า แนะนำ
ประวัติของโรงเรียน ถึงจะเริ่มเข้าสู้ของเนื้อหาการเรียนการสอนทางโรงเรียน


ประเมินอาจารย์ผู้สอน
     อาจารย์วิทยากรมีความเป็นกันเอง ให้ความสนุกสนานตลอดจนจบการอบรม และยังเปิด
โอกาสให้นักศึกษาได้ตั้งคำถามเมื่อมีข้อสงสัยอีกด้วย