วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14
วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2559

สาระ
(เรียนชดเชย เรื่อง แผนการจัดประสบการณ์) 

     - ตัวสรุปเป็นตัวหลักในการคิด
     - สิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิตมีลักษณะที่แตกต่างกัน
     - การเจริญเติบโตคือ ระบบกล้ามเนื้อ , การประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อมือกับตา
       > การเคลื่อนไหว
     - ด้านอารมณ์ > การแสดงออกทางความรู้สึก . การรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่น
     - ด้านสังคม  > การมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับผู้อื่น / คุณธรรม จริยธรรม
     - ด้านสติปัญญา > การคิด / การคิดสร้างสรรค์
                               > ภาษา
     - บูรณาการทักษะรายวิชา > ภาษา / การฟังนิทาน , ฟังเพลง , ฟังคำคล้องจอง
                                              > การพูด
                                              > การเขียน
     - การนำภาพมาติด เราเรียกว่า "การจัดหมวดหมู่"
     - อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มคิดแนวคิดในการเขียนแผนของกลุ่มตัวเอง


ทักษะ
     - ทักษะการฟัง

     - ทักษะการคิดวิเคราะห์

     - ทักษะการตอบคำถาม

     - ทักษะการใช้หลักการ


การนำความรู้ไปประยุกต์
     สามารถนำแบบตัวอย่างของการเขียนแผนไปใช้เขียนในรายวิชาอื่นๆได้ เพื่อที่จะนำไปเป็น
แนวทางในการสอนในอนาคตได้


เทคนิคการสอนของอาจารย์
      อาจารย์สอนโดยการยกตัวอย่างให้เห็นได้ชัดเจน และได้เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์
และใช้เหตุผลในการตอบคำถามด้วย


ประเมินอาจารย์ผู้สอน
     อาจารย์เตรียมเนื้อหาการสอนมาได้ดีและครบถ้วน อาจารย์เป็นกันเอง เข้าใจนักศึกษาทุกคน








บันทึกการเรียนครั้งที่ 13
วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2559


          เมื่อมาถึงห้องเรียนอาจารย์ก็ได้พูดคุยกับนักศึกษาจังหวะรอเพื่อนๆ มาครบทุกคน 
อาจารย์ได้พูดเกี่ยวกับเรื่อง บล็อกส่งงานและเรื่องการสอบปลายภาค หลังจากที่เพื่อนๆ มาครบแล้วอาจารย์ก็ให้เริ่มนำเสนอผลงานนิทานของแต่ละกลุ่ม

สาระ

การนำเสนอผลงงาน "นิทาน"

กลุ่มที่ 1
เรื่อง กล้วยน้อยช่างคิด



(นำหน่วยของกล้วยมาแต่งนิทาน)



กลุ่มที่ 2
เรื่อง หนูจินสอนเพื่อน


(นำหน่วยของ ของเล่นของใช้มาแต่งนิทาน)



กลุ่มที่ 3
เรื่อง ประโยชน์ของผลไม้


(นำหน่วยของผลไม้มาแต่งนิทาน)



กลุ่มที่ 4
เรื่อง หนูน้อยกับรถคู่ใจ (หัวข้อของ การดูแลรักษา)



(นำหน่วยของยานพาหนะมาแต่งนิทาน)


การนำเสนอ

สรุปวิจัย



เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะ                     สร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้  ผู้วิจัย คมขวัญ   อ่อนบึงพร้าว
นำเสนอโดย นางสาวยุคลธร ศรียะลา

* เครื่องมือ
      1. แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
      2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
* เวลา 
       09 : 00 - 09 : 45 น.
* เด็กที่ใช้ในการทดสอบ
       อนุบาล 3  ใช้หน่วยต่างๆรอบตัวทดสอบ 8 สัปดาห์  สัปดาห์ละ 3 เรื่อง
* การประเมิน
       1. สังเกตจากกิจกรรมที่เด็กทำ


ทักษะ
     - ทักษะการพูด

     - ทักษะการนำเสนอ

     - ทักษะการฟัง

     - ทักษะการแต่งนิทาน

     - ทักษะการวิเคราะห์

     - ทักษะการนำมาประยุกต์ใช้


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
     นำความรู้ที่ได้รับเพิ่มเติมเกี่ยวกับทักษะต่างๆ มาเป็นแนวทางในการเรียนการสอน และยังสามารถ
นำแบบการแต่งนิทานไปใช้เป็นสื่อการสอนในอนาคตได้


เทคนิคการสอนของอาจารย์
     อาจารย์สอนโดยการให้ข้อคิดข้อเสนอแนะโดยการใช้คณิตศาสตร์สอดแทรกเข้ามาในการเรียน
การสอน สอนแบบเข้าใจง่าย


ประเมินอาจารย์ผู้สอน
     อาจารย์เป็นกันเอง พูดคุยได้สะดวกไม่เกร็ง