วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4
วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2559



           ก่อนที่จะเริ่มเข้าสู่ของเนื้อหาการเรียน อาจารย์ก็เริ่มเช็คชื่อนักศึกษาคนที่มาก่อนจนถึงคน
ที่มาเป็นคนสุดท้าย ต่อมาอาจารย์ก็เริ่มสอนโดยให้นักศึกษาเขียนชื่อตัวเองลงไปในกระดาษที่
อาจารย์แจกให้คนละ 1 แผ่น โดยการส่งต่อๆกันไปจนครบทุกคน เมื่อเขียนชื่อเสร็จแล้ว
อาจารย์ก็ให้นักศึกษาทุกคนนำกระดาษชื่อของตนเองไปติดบนกระดานแล้วกลับมานั่งที่เดิม 
จากนั้นอาจารย์ก็ได้เริ่มสอนและให้ความรู้พร้อมอธิบายเพิ่มเติม


สาระ
     - สอนในเรื่องระบบ (หน่วย) การเรียน ด้วยการเช็คชื่อก่อนเรียน เพื่อที่จะได้รู้ว่าใครมาเรียน
       ใครไม่มาเรียน โดยการแยกกลุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม "มาเรียน" กับกลุ่ม "กลุ่มไม่มาเรียน"
     - จำนวนรายชื่อที่อยู่บนกระดาน เมื่อเกิดการนับ จะทำให้มี > ทักษะการนับ
     - การนับเพิ่มขึ้น (เพิ่มขึ้นทีละ 1) เป็น > พื้นฐานของการบวก
     - ตัวเลข 2 กลุ่ม สามารถแบ่งออกได้หลายกลุ่มจำนวน
     - ใช้ตัวเลขฮินดูอารบิก กำกับลำดับที่นักเรียนมาโรงเรียนก่อนและมาทีหลัง 
     - ลำดับที่ 1 - 20 (คนแรกถึงคนสุดท้าย) เป็น > คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์
     - การเหลือ (จำนวนที่เหลือ) เป็น > พื้นฐานของลบ
     - เมื่อไหร่ที่เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองเอง เด็กก็จะได้ > ทักษะการเรียนรู้
     - การทำตารางการมาเรียนของนักเรียน อยู่ที่การออกแบบของคุณครู
     - การตั้งชื่อกลุ่มเป็นรูป เช่น รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม รูปห้าเหลี่ยม รูปหกเหลี่ยม เป็นต้น
       เด็กก็จะได้ความรู้ในเรื่องของรูปทรงวิชาคณิตศาสตร์
     - ป้ายชื่อนักเรียน หรือป้ายชื่อต่างๆ ถ้ามีขนาดใหญ่/ขนาดยาว เกินไป เราต้องปรับเปลี่ยนให้
       มีขนาดเล็กลงหรือทำสัญลักษณ์เพิ่ม
     - การออกแบบป้ายต่างๆ ที่ประหยัดและคุ้มค่าต่อเวลา สามารถออกแบบด้วยการ
       ใช้ > ซองใส , แม่เหล็กดูด เป็นต้น
     - การเช็คชื่อแบบกลุ่ม เริ่มจากทางซ้ายไปทางขวา จะเรียนรู้ในเรื่องของ > ภาษา
     - การบูรณาการในการออกแบบสื่อ ต้องคำนึงถึง วัตถุประสงค์
     


       สรุปบทความ




เรื่อง  เสริมการเรียนเลขให้ลูกวัยอนุบาล
          ผศ.ดร.ชลาธิป สมาหิโต ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์
          มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
นำเสนอโดย นางสาวเกตุวรินทร์ นามวา

          การทบทวน ทำให้การเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
     - ทำให้ผู้ปกครองตระหนักถึงความเข้าใจพัฒนาการของเด็กแต่ละช่วงวัย
     - ความต้องการ ด้านพฤติกรรม > แทนความรู้สึกสัญลักษณ์ด้วยภาพ (ที่เป็นของจริง)
                                                    > วิธีการลงมือปฏิบัติ ทำให้เกิดการเรียนรู้ และการเปลี่ยนแปลง
     -การทำสิ่งต่างๆ ด้วยประสาทสัมผัสมือและตา เรียกว่า "วิธีการ"
      (จัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ประสาทสัมผัสมือและตา)


สรุปวิจัย

เรื่อง การศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ
         จากการจัดประสบการณ์อาหารพื้นบ้านอีสาน
นำเสนอโดย  นางสาวจิรญา พัวโสภิต

         สรุป
             เด็กได้รับการเรียนรู้ทางโภชนาการของอาหาร ทำให้เด็กได้รับความรู้ในวิชาคณิตศาสตร์
โดยมีการใช้เครื่องมือคณิตศาสตร์มาช่วยในการทำอาหาร เช่น การวัด การตวง และยังได้รู้
ในเรื่องของส่วนผสมอาหารด้วย นอกจากเด็กจะเกิดการเรียนรู้แล้ว เด็กยังได้รับความสนุกสนาน
ในการลงมือปฏิบัติจริง ได้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ > การเปรียบเทียบ > การเรียงลำดับ


สรุปโทรทัศน์ครู

เรื่อง  สอนคณิตศาสตร์ปฐมวัยด้วยนิทาน  (มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จ.ฉะเชิงเทรา)
นำเสนอโดย นางสาวบงกช เพ่งหาทรัพย์

          ด้วยความมุ่งหวังที่จะสร้างเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย จำเป็น
ต้องเรียนรู้เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ในแง่มุมใหม่ๆ ที่ไม่ใช่แค่การนับจำนวนและการท่องจำ
อ.ธิดารัตน์ จึงมุ่งเน้นการสอนนักศึกษาให้เน้นการนำกิจกรรมไปสอนและปลูกฝังความรัก
คณิตศาสตร์ให้กับเด็กๆ โดยเฉพาะการใช้ "นิทาน"เป็นสื่อช่วยสอน เพราะเด็กปฐมวัยทุกคน
ชอบนิทานอยู่แล้ว ถ้าครูนำนิทานมาบูรณาการสอนเด็กๆจะทำให้เข้ารู้สึกสนุกและมีทัศนคติ
ที่ดีต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ต่อไป โดยการเล่านิทานลูกหมู 3 ตัวเด็กจะได้ทราบถึง
การเปรียบเทียบขนาด น้ำหนัก และขนาด


เพลงที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์

เพลงที่ 1
เพลง สวัสดียามเช้า



เพลงที่ 2
เพลง สวัสดีคุณครู



เพลงที่ 3 
เพลง หนึ่งปีมีสิบสองเดือน



เพลงที่ 4
เพลง เข้าแถว



เพลงที่ 5
เพลง จัดแถว



ทักษะ
     - ทักษะด้านการคิดวิเคราะห์
   
     - ทักษะด้านการเขียน

     - ทักษะด้านการออกแบบ

     - ทักษะด้านการฟัง
   
     - ทักษะด้านการเรียนรู้

     - ทักษะด้านการร้องเพลง

     - ทักษะด้านการพูด (การตอบคำถามจากอาจารย์ผู้สอน)


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
           ความรู้ที่ได้รับในวันนี้สามารถนำไปเป็นแนวทางในการเรียนการสอนในอนาคตได้ และยังมี
วิธีการออกแบบสื่อ เราสามารถนำไปบูรณาการ การประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ที่สำคัญเราต้อง
คำนึงถึงวัตถุประสงค์  ใช้อย่างประหยัดและคุ้มค่าต่อเวลาด้วย


เทคนิคการสอนของอาจารย์
       - อาจารย์สอนแบบมีหลักการให้เหตุผล และสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม
       - อาจารย์สอนโดยตั้งประโยคคำถามมาและให้นักศึกษาช่วยกันคิดวิเคราะห์ และสามารถ
         แสดงความคิดเห็นได้ทุกคน 
       

ประเมินอาจารย์ผู้สอน
       อาจารย์มีความตรงต่อเวลา เตรียมเนื้อหาการสอนมาเต็มที่ สอนแบบไม่ให้นักศึกษารู้สึกเครียด
อาจารย์น่ารัก ให้ความสุข ความรัก รอยยิ้ม กับนักศึกษาทุกครั้ง และยังฝึกให้นักศึกษาเป็นคนที่
มีความมั่นใจ และที่จะกล้าแสดงออกมากขึ้น 


วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3
วันพุธที่ 20 มกราคม  พ.ศ. 2559




            เมื่ออาจารย์เข้าห้องแล้ว นักศึกษาทุกคนก็เตรียมพร้อมที่จะเรียน อาจารย์ก็เเตรียมพร้อม
ที่จะเริ่มสอนแล้วเช่นกัน เริ่มแรกก่อนเข้าสู่เนื้อหาของการเรียน อาจารย์ได้ฝึกทักษะการเตรียม
ความพร้อมโดยการใช้ความรู้รอบตัวของนักศึกษาทำกิจกรรมฝึกทักษะ อาจารย์แจกกระดาษ
แล้วก็ให้นักศึกษาหยิบคนละ 1 แผ่นเช่นเคย และมีโจทย์ในการทำกิจกรรมคือ ให้พับกระดาษ
เป็น 4 ส่วน เท่าๆกัน แบบไหนก็ได้ตามความคิดของเรา เมื่อพับเสร็จแล้ว ก็ให้พับอีก 4 ส่วน
แบบไหนก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นแนวตั้ง หรือ แนวนอน ก็สามารถพับได้เช่นกัน แต่ละคนก็มีความคิด
ที่ต่างกัน หลังจากนั้นอาจารย์ก็แนะนำวิธีการพับที่ถูกต้องให้นักศึกษาได้รับเป็นความรู้เพิ่มเติม
ทำให้การทำกิจกรรมมีความสนุก ตื่นเต้น และทำให้กิจกรรมออกมาได้สำเร็จ ตรงตามลำดับ
ขั้นตอนที่ถูกต้อง

             ต่อมาอาจารย์ก็เริ่มที่จะเข้าสู่เนื้อหาของการเรียนการสอน โดยให้นักศึกษา 3 คนแรก
ออกมานำเสนอสรุปบทความ วิจัย และวีดีโอหรือโทรทัศน์ครู เพื่อที่จะนำความรู้ที่สรุปมา มาแลก
เปลี่ยนความรู้กับเพื่อนๆ




สรุปบทความ

เรื่อง เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์
นำเสนอโดย นางสาวไพจิตร ฉันทเกษมคุณ

          การเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย มุ่งหวังให้เด็กทุกคนได้เตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ 
ทางคณิตศาสตร์ อันเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา โดยกำหนดสาระหลัก
ที่จำเป็นสำหรับเด็ก  ได้แก่  จำนวนและการดำเนินการ  จำนวน การรวมกลุ่ม  และการแยกกลุ่ม  
การวัด  ความยาว  น้ำหนัก  ปริมาตร เงิน  และเวลา 
     การจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็ก ต้องคำนึงถึงขั้นตอนการเรียนรู้ของเด็ก
1. ทบทวนความรู้พื้นฐาน ทบทวนเนื้อหาสาระใหม่
2. เริ่มให้ประสบการณ์ใหม่ เนื้อหาสาระใหม่
3. สรุปสาระสำคัญ
4. ฝึกทักษะและปฏิบัติ
5. ประเมินผล > การใช้คำถาม > การปฏิบัติจริง
6. คำนึงถึงความสามารถ ความแตกต่างของแต่ละบุคคล


สรุปวิจัย

เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้จากการสาน
นำเสนอโดย นางสาวภาวิดา บุญช่วย

     งานวิจัยครั้งนี้เป็นการทดลองทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการสาน

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อนุบาล 1. โรงเรียน วัดนิมมานรดี กรุงเทพมหานคร จำนวน 30 คน

สรุปผลของการวิจัย
1.ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมหลังทำกิจกรรมสานสูงกว่าก่อนทำกิจกรรม
2.เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ก่อนทำการทดลองโดยรวมและรานด้านทุกด้าน 
   พอใช้ แต่หลังจัดกิจกรรมสานเด็กมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมและรายด้านทุกด้าน 
   ในระดับดี


สรุปวีดีโอโทรทัศน์ครู

เรื่อง กิจกรรมคณิตศาสตร์ปฐมวัยจากธรรมชาติรอบตัว
นำเสนอโดย นางสาวสิริกัลยา บุญทนแสนทวีสุข

    กิจกรรมคณิตปฐมวัยจากธรรมชาติรอบตัวจะบูรณาการกับกิจกรรมประจำวันหรือ 6 กิจกรรมหลัก
ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2546 มีกิจกรรมดังนี้

1. ปูมีขา (กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ) เด็กก็จะรู้ว่าปูมีขา 8 ขา มีก้าม 2 ก้าม เกิดการ
    เปรียบเทียบจากการนับนิ้วมือ
2. ต้นไม่ใกล้ตัว (กิจกรรมเสริมประสบการณ์) เป็นการเปรียบเทียบ การนับจำนวนของใบไม้ที่ร่วง
    จากการศึกษานอกห้องเรียน
3. ใบไม่แสนสวย (กิจกรรมสร้างสรรค์) เป็นการร้อยใบไม้ การพิมพ์ภาพของใบไม้ เพื่อให้เด็ก
    เกิดการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
4. มุมคณิต (กิจกรรมเสรี) โดยการให้เด็กๆนำสิ่งของต่างๆที่อยู่รอบตัวเรา มาวางให้ตรงกับจำนวน
    บัตรภาพที่คุณครูได้กำหนดไว้ให้
5. เกมกระต่ายเก็บของ (กิจกรรมกลางแจ้ง) เป็นการเก็บของจากการจัดสิ่งของตามลำดับ 5 สิ่ง 
    โดยให้เด็กๆวิ่งไปเก็บของตามลำดับใส่ตะกร้าให้ครบทุกสิ่ง
6. เกมก้อนหินหรรษา (เกมการศึกษา) เป็นการนำก้อนหิน 2 สี มาเรียงตามจำนวนตามสีให้ตรงกับ
    บัตรภาพที่คุณครูได้กำหนดไว้ให้

        นอกจากนี้ เรายังสามารถนำความรู้ที่ได้รับในการทำกิจกรรม ไปสอดแทรกในเทคนิคการสอน
การนำมาประยุกต์ใช้ และการจัดกิจกรรมตามความต้องการของเด็ก ที่สำคัญ เราต้อง 
เน้น ย้ำ ซ้ำ ทวน ให้เด็กอยู่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อทำให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้กิจกรรมทาง
คณิตศาสตร์ที่แม่นยำและง่ายขึ้น



สาระ
     - คณิตศาสตร์มีโดยทั่วๆไป
     - การตอบคำถามโดยการใช้เสียงและสัญลักษณ์ (การยกมือ) เป็นการตอบแบบ แทนภาษา
     - การพับกระดาษให้ได้ส่วนเท่าๆกัน เกิดจาก > ประสบการณ์ , ความคิดสร้างสรรค์
     - คำขวัญวันครู 2559  > อนาคตก้าวไกล ด้วยครูดี มีคุณภาพ
     - องค์ประกอบของหน้ากระดาษคือ ข้อกำหนดในการออกแบบ
     - การเขียนเริ่มจากทางซ้ายไปทางขวา อยู่ในเรื่องของ ทิศทาง , ข้อกำหนดในการใช้
     - การนับ ควรนับให้เป็นแถว ทีละแถว เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบ
     - คำว่า "ครู" สร้างแรงบรรดาลใจ สอดแทรกในเรื่องของ คุณธรรมจริยธรรม
     - "ล็อตโต้"  คือ การศึกษาภาพ , รายละเอียดภาพ
     - "การนั่งฟัง" ไม่ใช่ วิธีการเล่น

       ความรู้เพิ่มเติมจากบทเรียน
    
          * เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์ ?
          เพื่อเตรียมความพร้อมในด้านคณิตศาสตร์ ที่เป็นพื้นฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในระดับ
ชั้นประถมศึกษา

          * เด็กปฐมวัย / เด็กประถมศึกษา เรียนต่างกันหรือไม่ อย่างไร ?
           เรียนต่างกัน คือ
               - เด็กปฐมวัย เรียนในเรื่อง การเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ
               - เด็กประถมศึกษา เรียนในเรื่อง แบบเป็นกลุ่มสาระ โดยมีตัวบ่งชี้กำหนด

            สาระและมาตราฐานการเรียนรู้
1. จำนวนและการดำเนินการ
2. การวัด
3. เรขาคณิต
4. พีชคณิต (พี-ชะ-คะ-นิด)
5. การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
6. ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

            คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษา
1. มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์
       - จำนวนนับ 1 ถึง 20
       - เข้าใจหลักการนับ
       - รู้จักตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย
       - รู้ค่าของจำนวน
       - เปรียบเทียบเรียงลำดับ
       - การรวมและการแยกกลุ่ม

   2.  มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา
        - เปรียบเทียบ เรียงลำดับ และวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร

   3.  มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต
        - ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง
        - รูปเรขาคณิตสามมิติ และรูปเรขาคณิตสองมิติ
    
   4.  ความรู้ความเข้าใจในรูปแบบของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง

   5.  มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล และนำเสนอข้อมูลในรูปแบบแผนภูมิอย่างง่าย

   6.  มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น


ทักษะ
      - ทักษะด้านการฟัง

      - ทักษะด้านการคิดจากประเด็นปัญหา

      - ทักษะด้านการคิดวิเคราะห์และการแกปัญหา

      - ทักษะด้านการเขียน (เขียนชื่อ-นามสกุล ในกระดาษที่อาจารย์ได้แจกให้)


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
      - เราสามารถส่งเสริมพัฒนาการทางคณิตศาสตร์ให้เกิดการเรียนรู้และมีทักษะสำหรับ
        เด็กปฐมวัยได้
      - นำความรู้ที่ได้รับในการทำกิจกรรม ไปสอดแทรกในเทคนิคการสอน การนำมาประยุกต์ใช้ 
        และการจัดกิจกรรมตามความต้องการของเด็ก
      - วิธีการนำเสนอหน้าชั้นของเพื่อน สามารถนำเป็นตัวอย่างหรือต้นแบบในการนำเสนอ
        ครั้งต่อไป
       

เทคนิคการสอนของอาจารย์
       - อาจารย์สอนโดยการตั้งประเด็นปัญหา ให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นเพื่อแลกเปลี่ยน
         ความรู้ และหลักการในการให้เหตุผล
       - อาจารย์สอนโดยการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม
       - อาจารย์ให้ข้อคิดและข้อแนะนำในการทำกิจกรรมในห้องเรียน ให้ออกมาได้ถูกต้อง
         และมีประสิทธิภาพที่สุด


ประเมินการสอนของอาจารย์
         อาจารย์มีการเนื้อหาการสอนที่ดี และสอนได้หลากหลายรูปแบบ สอนโดยไม่ให้นักศึกษา
เกิดความเครียด และได้สร้างรอยยิ้ม เสียงหัวเราะให้กับนักศึกษาทุกครั้งเมื่อพบเจอกัน







วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2
วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ.2559



         ก่อนที่จะเริ่มเข้าสู่การเรียนการสอน อาจารย์ก็ได้เช็คชื่อการเข้าเรียนของนักศึกษา
พร้อมทั้งถามเหตุผลของนักศึกษาบางคนที่ไม่ได้เข้าเรียนเมื่อชั่วโมงที่แล้ว ต่อมาอาจารย์ก็นำ
กระดาษ A4 หนึ่งปึกมาให้นักศึกษาโดยการหยิบกระดาษไปคนละ 1 แผ่น ต่อ 1 คน 
แล้วก็ส่งต่อไปเรื่อยๆจนถึงคนสุดท้ายของห้อง เมื่อได้ครบทุกคนแล้วก็นำกระดาษที่เหลือ
มาคืนอาจารย์  จากนั้นอาจารย์ก็ได้พูดคุยกับนักศึกษาและให้ความรู้เพิ่มเติม

สาระ
     - การใช้เหตุ-ใช้ผล เป็นส่วนหนึ่งในเรื่องของ "คุณธรรม จริยธรรม"
     - การแจกกระดาษแบบหยิบเก็บไว้คนละ 1 แผ่น แล้วส่งต่อไปเรื่อยๆจนครบทุกคน เรียกวิธีการนี้
       ว่า "การจับคู่แบบ 1 ต่อ 1" ถ้ากระดาษเหลือแสดงว่า "กระดาษมากกว่าจำนวนคน" 
       หรือเรียกอีกอย่างว่า "การเปรียบเทียบกระดาษมากกว่ากับจำนวนคน"
     - เมื่อมีการคิดก็ต้องมีการวิเคราะห์ของคณิตศาสตร์
     - 1 2 3 4 5 6 7 8 9 0 > เลขพวกนี้ เรียกเต็มๆว่า "เลขฮินดูอารบิก"
     - เมื่อมีการแสดงความคิดเห็น ความเข้าใจของคำว่า "คณิตศาสตร์" ก็จะทำให้รู้ถึงความหมาย
       ของคำว่า "คณิตศาสตร์"  คือ "การคิดคำนวณในชีวิตประจำวัน ที่มีองค์ประกอบ"
       ประกอบด้วย ตัวเลข การวัด การคำนวณ การคิด บวก ลบ คูณ หาร เป็นต้น
     - คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวันที่อยู่ใกล้ๆรอบตัวเรา มีอะไรบ้าง  
         (ความคิดเห็นของเพื่อน)
                 1. การเสียภาษี
                 2. จำนวนเงิน
                 3. เวลา
                 4. น้ำหนัก - ส่วนสูง
                 5. องศา
                 6. ระยะทาง
      - เราใช้ คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือเหมือนกับภาษา ถ้าเด็กมีภาษา เด็กก็จะมีเครื่องมือไป
        ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตัวเอง
    
           สรุป
               คณิตศาสตร์เป็นชีวิตประจำวัน คณิตศาสตร์เป็นครื่องมือทางภาษา จึงสะท้อนให้เห็นถึง
           ความสำคัญของคณิตศาสตร์ ถ้าเราไม่มีคณิตศาสตร์ จะมีผลกระทบต่อตัวเรา อะไรที่เป็น
           "ผลกระทบ" แสดงว่าสิ่งนั้น "สำคัญ" 

           เพิ่มเติม
                My Mapping หัวข้อ "การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย" 
           สามารถแยกออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้ 
                1. การจัดประสบการณ์ ประกอบด้วย หลักสูตร หลักการ แนวทาง การนำไปใช้ 
                    การจัดประสบการณ์โดยผู้ปกครอง สื่อ
                2. คณิตศาสตร์ ประกอบด้วย ความหมาย ความสำคัญ สาระ ทักษะ ประโยชน์
                3. เด็กปฐมวัย  ประกอบด้วย ความหมาย การเรียนรู้ พัฒนาการ


ทักษะ
      - ทักษะด้านการฟัง 

      - ทักษะด้านภาษา 
            การพูด การแสดงความคิดเห็น

      - ทักษะด้านการคิดและการแก้ปัญหา 

     - ทักษะด้านการเขียน 
            การทำ  My Mapping 


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
      สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
         อย่างมีประสิทธิภาพ
      - การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สามารถแก้ปัญหาได้โดยการใช้วิธีการที่หลากหลาย
        เพื่อนำมาใช้ได้อย่างเหมาะสม
     เราสามารถส่งเสริมพัฒนาการทางคณิตศาสตร์ให้เกิดการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยได้


เทคนิคการสอนของอาจารย์
      - อาจารย์สอนโดยการตั้งประเด็นปัญหาขึ้นมา และได้ให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็น 
        เพื่อให้นักศึกษาเกิดทักษะในการวิเคราะห์และมีความกล้าแสดงออกที่จะตอบคถาม
      - อาจารย์พูดเสียงดังฟังชัด
      - อาจารย์สอนโดยการสอดแทรกคุณธรรมเข้ามาในการดำเนินชีวิตประจำวัน และรู้จัก
        การใช้เหตุ - ใช้ผล


ประเมินอาจารย์ผู้สอน
       อาจารย์มีการเตรียมเนื้อหาการเรียนการสอนมาอย่างดี ให้คำแนะนำ และมีความเป็นกันเอง
กับนักศึกษา
         
                               
     

วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2559

สรุปวิจัย


เรื่อง   ความต้องการของผู้ปกครองเกี่ยวกับการเรียนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
โดย    พิชญาดา ดำแก้ว    มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

               เด็กปฐมวัยเป็นวัยแห่งการเริ่มต้นเป็นวัยแห่งการเรียนรู้เป็นวัยที่มีความสําคัญมากที่สุด
ของชีวิตมนุษย์ เพราะพัฒนาการแต่ละด้านของเด็กจะพัฒนาและเติบโตอย่างรวดเร็วและเด็ก
สามารถเรียนรู้ได้ในทุกสถานการณ์ การจัดการศึกษาสําหรับเด็กปฐมวัย นอกจากให้เป็นไปตามพัฒนาการของเด็กในแต่ละวัยแล้วยังต้องคำนึงถึงความต้องการของผู้ปกครองด้วยว่ามีความ
ต้องการให้มีการจัดการศึกษาในรูปแบบใด

                กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยนี้คือ ผู้ปกครองของเด็กปฐมวัยที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลที่มี
อายุระหว่าง 4-5 ปี ปีการศึกษา 2548 ของโรงเรียนทั้งภาครัฐและเอกชนในจังหวัดภาคตะวันออก 

คือจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และฉะเชิงเทรา จํานวน 485 คน

              จากความต้องการของผู้ปกครองเกี่ยวกับการเรียนคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ในแต่ละด้านสามารถสรุปผลได้ดังนี้

1. ด้านความพร้อมทางคณิตศาสตร์  

    ผู้ปกครองมีความต้องการให้เด็กปฐมวัยมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ในเรื่องของตัวเลข 
คือ มีความต้องการให้เด็กปฐมวัยสามารถนับเลขและอ่านตัวเลขได้

2. ด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 
    ผู้ปกครองมความต้องการให้เด็กปฐมวัยมีความสามารถในเรื่องของการนับอยู่ในระดับมากที่สุด

3. ด้านการเสริมทักษะคณิตศาสตร์  
    ผู้ปกครองมความต้องการให้ครูจัดบรรยากาศของการเรียนคณิตศาสตร์ที่ไม่เคร่งเครียด
และมีสื่ออุปกรณ์ที่น่าสนใจ และในการจัดกิจกรรมการเรียนคณิตศาสตร์นั้น ผู้ปกครองต้องการ
ให้เด็กได้มีโอกาสลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง




สรุปโทรทัศน์ครู



เรื่อง  คณิตศาสตร์ระดับเด็กปฐมวัย : กิจกรรม 5 ประสาทสัมผัส
โดย  คุณครูเด่นดวง ธรรมทวี   โรงเรียนบ้านสำโรงเกียติ จ.ศรีสะเกษ 

              การเตรียมความพร้อมของเด็กปฐมวัยเป็นวัยเริ่มต้นของการเรียนรู้ในเรื่องต่างๆ ครูจึงมี
หน้าที่ป้อนความรู้พื้นฐานที่จำเป็นในชีวิตประจำวันเพื่อให้เด็กพร้อมที่จะเรียนในชั้นที่สูงขึ้น
อย่างเรื่องของประสาทสัมผัสทั้ง 5 ตา หู จมูก ลิ้น และกาย ครูเด่นดวง ธรรมทวี 
รร.บ้านสำโรงเกียรติ จ.ศรีสะเกษ ก็ได้นำสิ่งของใกล้ตัวของเด็กมาสอนเด็ก เช่น ได้รู้ว่าการ

ที่เรามองเห็นสิ่งของต่างๆ และอธิบายได้ว่าของสิ่งนั้นมีลักษณะอย่างไร นั่นคือเราใช้ตาในการ

มองเห็น ซึ่งตาคือ ประสาทสัมผัสอย่างหนึ่ง หรือการนำเอากลิ่นที่เด็กคุ้นเคยมาให้ทดลองดม 
เมื่อเด็กดมก็จะต้องบอกได้ว่ากลิ่นที่ดมไปคือ กลิ่นอะไร เป็นการสอนให้เด็กปฐมวัยได้มีความรู้
เรื่องประสาทสัมผัสผ่านของจริงใกล้ตัว ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมในการเรียนชั้นสูงต่อไป

            พื้นฐานการเรียนรู้กับกิจกรรม 5 ประสาทสัมผัส

ประสาทสัมผัสที่ 1 การมอง
     - เด็กได้เห็นของจริงโดยการมองขนาดของรูปทรง และสามารถบอกขนาดรูปทรงว่าอันไหน
ขนาดใหญ่ อันไหนขนาดเล็ก เด็กก็จะเกิดการเรียนรู้โดยการคาดคะเน

ประสาทสัมผัสที่ 2 การฟัง
     - การฟังก็จะมีเสียงที่ไม่เหมือนกันจากกล่องเสียง โดยการเขย่ากล่องเสียงให้เด็กได้ฟังเสียงที่
ดังที่สุดไปหาเสียงที่เบาที่สุด เด็กก็จะสามารถบอกถึงระดับของเสียงนั้นๆได้

ประสาทสัมผัสที่ 3 การสัมผัส
     - เด็กสามารถบอกได้ว่า สิ่งที่เด็กๆได้สัมผัสเป็นอย่างไร เหมือนกันหรือต่างกัน

ประสาทสัมผัสที่ 4 การดมกลิ่น
     - เด็กสามารถแยกแยะกลิ่นต่างๆได ้ ว่ามีกลิ่นหอม หรือ กลิ่นเหม็น

ประสาทสัมผัสที่ 5 การชิมรส
     - เด็กสามารถบอกได้ว่า สิ่งที่เด็กๆได้ชิมเป็นรสอะไร เช่น รสเค็ม รสหวาน รสเค็ม หรือ รสขม