วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3
วันพุธที่ 20 มกราคม  พ.ศ. 2559




            เมื่ออาจารย์เข้าห้องแล้ว นักศึกษาทุกคนก็เตรียมพร้อมที่จะเรียน อาจารย์ก็เเตรียมพร้อม
ที่จะเริ่มสอนแล้วเช่นกัน เริ่มแรกก่อนเข้าสู่เนื้อหาของการเรียน อาจารย์ได้ฝึกทักษะการเตรียม
ความพร้อมโดยการใช้ความรู้รอบตัวของนักศึกษาทำกิจกรรมฝึกทักษะ อาจารย์แจกกระดาษ
แล้วก็ให้นักศึกษาหยิบคนละ 1 แผ่นเช่นเคย และมีโจทย์ในการทำกิจกรรมคือ ให้พับกระดาษ
เป็น 4 ส่วน เท่าๆกัน แบบไหนก็ได้ตามความคิดของเรา เมื่อพับเสร็จแล้ว ก็ให้พับอีก 4 ส่วน
แบบไหนก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นแนวตั้ง หรือ แนวนอน ก็สามารถพับได้เช่นกัน แต่ละคนก็มีความคิด
ที่ต่างกัน หลังจากนั้นอาจารย์ก็แนะนำวิธีการพับที่ถูกต้องให้นักศึกษาได้รับเป็นความรู้เพิ่มเติม
ทำให้การทำกิจกรรมมีความสนุก ตื่นเต้น และทำให้กิจกรรมออกมาได้สำเร็จ ตรงตามลำดับ
ขั้นตอนที่ถูกต้อง

             ต่อมาอาจารย์ก็เริ่มที่จะเข้าสู่เนื้อหาของการเรียนการสอน โดยให้นักศึกษา 3 คนแรก
ออกมานำเสนอสรุปบทความ วิจัย และวีดีโอหรือโทรทัศน์ครู เพื่อที่จะนำความรู้ที่สรุปมา มาแลก
เปลี่ยนความรู้กับเพื่อนๆ




สรุปบทความ

เรื่อง เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์
นำเสนอโดย นางสาวไพจิตร ฉันทเกษมคุณ

          การเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย มุ่งหวังให้เด็กทุกคนได้เตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ 
ทางคณิตศาสตร์ อันเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา โดยกำหนดสาระหลัก
ที่จำเป็นสำหรับเด็ก  ได้แก่  จำนวนและการดำเนินการ  จำนวน การรวมกลุ่ม  และการแยกกลุ่ม  
การวัด  ความยาว  น้ำหนัก  ปริมาตร เงิน  และเวลา 
     การจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็ก ต้องคำนึงถึงขั้นตอนการเรียนรู้ของเด็ก
1. ทบทวนความรู้พื้นฐาน ทบทวนเนื้อหาสาระใหม่
2. เริ่มให้ประสบการณ์ใหม่ เนื้อหาสาระใหม่
3. สรุปสาระสำคัญ
4. ฝึกทักษะและปฏิบัติ
5. ประเมินผล > การใช้คำถาม > การปฏิบัติจริง
6. คำนึงถึงความสามารถ ความแตกต่างของแต่ละบุคคล


สรุปวิจัย

เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้จากการสาน
นำเสนอโดย นางสาวภาวิดา บุญช่วย

     งานวิจัยครั้งนี้เป็นการทดลองทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการสาน

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อนุบาล 1. โรงเรียน วัดนิมมานรดี กรุงเทพมหานคร จำนวน 30 คน

สรุปผลของการวิจัย
1.ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมหลังทำกิจกรรมสานสูงกว่าก่อนทำกิจกรรม
2.เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ก่อนทำการทดลองโดยรวมและรานด้านทุกด้าน 
   พอใช้ แต่หลังจัดกิจกรรมสานเด็กมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมและรายด้านทุกด้าน 
   ในระดับดี


สรุปวีดีโอโทรทัศน์ครู

เรื่อง กิจกรรมคณิตศาสตร์ปฐมวัยจากธรรมชาติรอบตัว
นำเสนอโดย นางสาวสิริกัลยา บุญทนแสนทวีสุข

    กิจกรรมคณิตปฐมวัยจากธรรมชาติรอบตัวจะบูรณาการกับกิจกรรมประจำวันหรือ 6 กิจกรรมหลัก
ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2546 มีกิจกรรมดังนี้

1. ปูมีขา (กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ) เด็กก็จะรู้ว่าปูมีขา 8 ขา มีก้าม 2 ก้าม เกิดการ
    เปรียบเทียบจากการนับนิ้วมือ
2. ต้นไม่ใกล้ตัว (กิจกรรมเสริมประสบการณ์) เป็นการเปรียบเทียบ การนับจำนวนของใบไม้ที่ร่วง
    จากการศึกษานอกห้องเรียน
3. ใบไม่แสนสวย (กิจกรรมสร้างสรรค์) เป็นการร้อยใบไม้ การพิมพ์ภาพของใบไม้ เพื่อให้เด็ก
    เกิดการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
4. มุมคณิต (กิจกรรมเสรี) โดยการให้เด็กๆนำสิ่งของต่างๆที่อยู่รอบตัวเรา มาวางให้ตรงกับจำนวน
    บัตรภาพที่คุณครูได้กำหนดไว้ให้
5. เกมกระต่ายเก็บของ (กิจกรรมกลางแจ้ง) เป็นการเก็บของจากการจัดสิ่งของตามลำดับ 5 สิ่ง 
    โดยให้เด็กๆวิ่งไปเก็บของตามลำดับใส่ตะกร้าให้ครบทุกสิ่ง
6. เกมก้อนหินหรรษา (เกมการศึกษา) เป็นการนำก้อนหิน 2 สี มาเรียงตามจำนวนตามสีให้ตรงกับ
    บัตรภาพที่คุณครูได้กำหนดไว้ให้

        นอกจากนี้ เรายังสามารถนำความรู้ที่ได้รับในการทำกิจกรรม ไปสอดแทรกในเทคนิคการสอน
การนำมาประยุกต์ใช้ และการจัดกิจกรรมตามความต้องการของเด็ก ที่สำคัญ เราต้อง 
เน้น ย้ำ ซ้ำ ทวน ให้เด็กอยู่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อทำให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้กิจกรรมทาง
คณิตศาสตร์ที่แม่นยำและง่ายขึ้น



สาระ
     - คณิตศาสตร์มีโดยทั่วๆไป
     - การตอบคำถามโดยการใช้เสียงและสัญลักษณ์ (การยกมือ) เป็นการตอบแบบ แทนภาษา
     - การพับกระดาษให้ได้ส่วนเท่าๆกัน เกิดจาก > ประสบการณ์ , ความคิดสร้างสรรค์
     - คำขวัญวันครู 2559  > อนาคตก้าวไกล ด้วยครูดี มีคุณภาพ
     - องค์ประกอบของหน้ากระดาษคือ ข้อกำหนดในการออกแบบ
     - การเขียนเริ่มจากทางซ้ายไปทางขวา อยู่ในเรื่องของ ทิศทาง , ข้อกำหนดในการใช้
     - การนับ ควรนับให้เป็นแถว ทีละแถว เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบ
     - คำว่า "ครู" สร้างแรงบรรดาลใจ สอดแทรกในเรื่องของ คุณธรรมจริยธรรม
     - "ล็อตโต้"  คือ การศึกษาภาพ , รายละเอียดภาพ
     - "การนั่งฟัง" ไม่ใช่ วิธีการเล่น

       ความรู้เพิ่มเติมจากบทเรียน
    
          * เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์ ?
          เพื่อเตรียมความพร้อมในด้านคณิตศาสตร์ ที่เป็นพื้นฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในระดับ
ชั้นประถมศึกษา

          * เด็กปฐมวัย / เด็กประถมศึกษา เรียนต่างกันหรือไม่ อย่างไร ?
           เรียนต่างกัน คือ
               - เด็กปฐมวัย เรียนในเรื่อง การเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ
               - เด็กประถมศึกษา เรียนในเรื่อง แบบเป็นกลุ่มสาระ โดยมีตัวบ่งชี้กำหนด

            สาระและมาตราฐานการเรียนรู้
1. จำนวนและการดำเนินการ
2. การวัด
3. เรขาคณิต
4. พีชคณิต (พี-ชะ-คะ-นิด)
5. การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
6. ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

            คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษา
1. มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์
       - จำนวนนับ 1 ถึง 20
       - เข้าใจหลักการนับ
       - รู้จักตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย
       - รู้ค่าของจำนวน
       - เปรียบเทียบเรียงลำดับ
       - การรวมและการแยกกลุ่ม

   2.  มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา
        - เปรียบเทียบ เรียงลำดับ และวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร

   3.  มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต
        - ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง
        - รูปเรขาคณิตสามมิติ และรูปเรขาคณิตสองมิติ
    
   4.  ความรู้ความเข้าใจในรูปแบบของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง

   5.  มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล และนำเสนอข้อมูลในรูปแบบแผนภูมิอย่างง่าย

   6.  มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น


ทักษะ
      - ทักษะด้านการฟัง

      - ทักษะด้านการคิดจากประเด็นปัญหา

      - ทักษะด้านการคิดวิเคราะห์และการแกปัญหา

      - ทักษะด้านการเขียน (เขียนชื่อ-นามสกุล ในกระดาษที่อาจารย์ได้แจกให้)


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
      - เราสามารถส่งเสริมพัฒนาการทางคณิตศาสตร์ให้เกิดการเรียนรู้และมีทักษะสำหรับ
        เด็กปฐมวัยได้
      - นำความรู้ที่ได้รับในการทำกิจกรรม ไปสอดแทรกในเทคนิคการสอน การนำมาประยุกต์ใช้ 
        และการจัดกิจกรรมตามความต้องการของเด็ก
      - วิธีการนำเสนอหน้าชั้นของเพื่อน สามารถนำเป็นตัวอย่างหรือต้นแบบในการนำเสนอ
        ครั้งต่อไป
       

เทคนิคการสอนของอาจารย์
       - อาจารย์สอนโดยการตั้งประเด็นปัญหา ให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นเพื่อแลกเปลี่ยน
         ความรู้ และหลักการในการให้เหตุผล
       - อาจารย์สอนโดยการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม
       - อาจารย์ให้ข้อคิดและข้อแนะนำในการทำกิจกรรมในห้องเรียน ให้ออกมาได้ถูกต้อง
         และมีประสิทธิภาพที่สุด


ประเมินการสอนของอาจารย์
         อาจารย์มีการเนื้อหาการสอนที่ดี และสอนได้หลากหลายรูปแบบ สอนโดยไม่ให้นักศึกษา
เกิดความเครียด และได้สร้างรอยยิ้ม เสียงหัวเราะให้กับนักศึกษาทุกครั้งเมื่อพบเจอกัน







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น