วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4
วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2559



           ก่อนที่จะเริ่มเข้าสู่ของเนื้อหาการเรียน อาจารย์ก็เริ่มเช็คชื่อนักศึกษาคนที่มาก่อนจนถึงคน
ที่มาเป็นคนสุดท้าย ต่อมาอาจารย์ก็เริ่มสอนโดยให้นักศึกษาเขียนชื่อตัวเองลงไปในกระดาษที่
อาจารย์แจกให้คนละ 1 แผ่น โดยการส่งต่อๆกันไปจนครบทุกคน เมื่อเขียนชื่อเสร็จแล้ว
อาจารย์ก็ให้นักศึกษาทุกคนนำกระดาษชื่อของตนเองไปติดบนกระดานแล้วกลับมานั่งที่เดิม 
จากนั้นอาจารย์ก็ได้เริ่มสอนและให้ความรู้พร้อมอธิบายเพิ่มเติม


สาระ
     - สอนในเรื่องระบบ (หน่วย) การเรียน ด้วยการเช็คชื่อก่อนเรียน เพื่อที่จะได้รู้ว่าใครมาเรียน
       ใครไม่มาเรียน โดยการแยกกลุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม "มาเรียน" กับกลุ่ม "กลุ่มไม่มาเรียน"
     - จำนวนรายชื่อที่อยู่บนกระดาน เมื่อเกิดการนับ จะทำให้มี > ทักษะการนับ
     - การนับเพิ่มขึ้น (เพิ่มขึ้นทีละ 1) เป็น > พื้นฐานของการบวก
     - ตัวเลข 2 กลุ่ม สามารถแบ่งออกได้หลายกลุ่มจำนวน
     - ใช้ตัวเลขฮินดูอารบิก กำกับลำดับที่นักเรียนมาโรงเรียนก่อนและมาทีหลัง 
     - ลำดับที่ 1 - 20 (คนแรกถึงคนสุดท้าย) เป็น > คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์
     - การเหลือ (จำนวนที่เหลือ) เป็น > พื้นฐานของลบ
     - เมื่อไหร่ที่เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองเอง เด็กก็จะได้ > ทักษะการเรียนรู้
     - การทำตารางการมาเรียนของนักเรียน อยู่ที่การออกแบบของคุณครู
     - การตั้งชื่อกลุ่มเป็นรูป เช่น รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม รูปห้าเหลี่ยม รูปหกเหลี่ยม เป็นต้น
       เด็กก็จะได้ความรู้ในเรื่องของรูปทรงวิชาคณิตศาสตร์
     - ป้ายชื่อนักเรียน หรือป้ายชื่อต่างๆ ถ้ามีขนาดใหญ่/ขนาดยาว เกินไป เราต้องปรับเปลี่ยนให้
       มีขนาดเล็กลงหรือทำสัญลักษณ์เพิ่ม
     - การออกแบบป้ายต่างๆ ที่ประหยัดและคุ้มค่าต่อเวลา สามารถออกแบบด้วยการ
       ใช้ > ซองใส , แม่เหล็กดูด เป็นต้น
     - การเช็คชื่อแบบกลุ่ม เริ่มจากทางซ้ายไปทางขวา จะเรียนรู้ในเรื่องของ > ภาษา
     - การบูรณาการในการออกแบบสื่อ ต้องคำนึงถึง วัตถุประสงค์
     


       สรุปบทความ




เรื่อง  เสริมการเรียนเลขให้ลูกวัยอนุบาล
          ผศ.ดร.ชลาธิป สมาหิโต ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์
          มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
นำเสนอโดย นางสาวเกตุวรินทร์ นามวา

          การทบทวน ทำให้การเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
     - ทำให้ผู้ปกครองตระหนักถึงความเข้าใจพัฒนาการของเด็กแต่ละช่วงวัย
     - ความต้องการ ด้านพฤติกรรม > แทนความรู้สึกสัญลักษณ์ด้วยภาพ (ที่เป็นของจริง)
                                                    > วิธีการลงมือปฏิบัติ ทำให้เกิดการเรียนรู้ และการเปลี่ยนแปลง
     -การทำสิ่งต่างๆ ด้วยประสาทสัมผัสมือและตา เรียกว่า "วิธีการ"
      (จัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ประสาทสัมผัสมือและตา)


สรุปวิจัย

เรื่อง การศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ
         จากการจัดประสบการณ์อาหารพื้นบ้านอีสาน
นำเสนอโดย  นางสาวจิรญา พัวโสภิต

         สรุป
             เด็กได้รับการเรียนรู้ทางโภชนาการของอาหาร ทำให้เด็กได้รับความรู้ในวิชาคณิตศาสตร์
โดยมีการใช้เครื่องมือคณิตศาสตร์มาช่วยในการทำอาหาร เช่น การวัด การตวง และยังได้รู้
ในเรื่องของส่วนผสมอาหารด้วย นอกจากเด็กจะเกิดการเรียนรู้แล้ว เด็กยังได้รับความสนุกสนาน
ในการลงมือปฏิบัติจริง ได้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ > การเปรียบเทียบ > การเรียงลำดับ


สรุปโทรทัศน์ครู

เรื่อง  สอนคณิตศาสตร์ปฐมวัยด้วยนิทาน  (มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จ.ฉะเชิงเทรา)
นำเสนอโดย นางสาวบงกช เพ่งหาทรัพย์

          ด้วยความมุ่งหวังที่จะสร้างเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย จำเป็น
ต้องเรียนรู้เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ในแง่มุมใหม่ๆ ที่ไม่ใช่แค่การนับจำนวนและการท่องจำ
อ.ธิดารัตน์ จึงมุ่งเน้นการสอนนักศึกษาให้เน้นการนำกิจกรรมไปสอนและปลูกฝังความรัก
คณิตศาสตร์ให้กับเด็กๆ โดยเฉพาะการใช้ "นิทาน"เป็นสื่อช่วยสอน เพราะเด็กปฐมวัยทุกคน
ชอบนิทานอยู่แล้ว ถ้าครูนำนิทานมาบูรณาการสอนเด็กๆจะทำให้เข้ารู้สึกสนุกและมีทัศนคติ
ที่ดีต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ต่อไป โดยการเล่านิทานลูกหมู 3 ตัวเด็กจะได้ทราบถึง
การเปรียบเทียบขนาด น้ำหนัก และขนาด


เพลงที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์

เพลงที่ 1
เพลง สวัสดียามเช้า



เพลงที่ 2
เพลง สวัสดีคุณครู



เพลงที่ 3 
เพลง หนึ่งปีมีสิบสองเดือน



เพลงที่ 4
เพลง เข้าแถว



เพลงที่ 5
เพลง จัดแถว



ทักษะ
     - ทักษะด้านการคิดวิเคราะห์
   
     - ทักษะด้านการเขียน

     - ทักษะด้านการออกแบบ

     - ทักษะด้านการฟัง
   
     - ทักษะด้านการเรียนรู้

     - ทักษะด้านการร้องเพลง

     - ทักษะด้านการพูด (การตอบคำถามจากอาจารย์ผู้สอน)


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
           ความรู้ที่ได้รับในวันนี้สามารถนำไปเป็นแนวทางในการเรียนการสอนในอนาคตได้ และยังมี
วิธีการออกแบบสื่อ เราสามารถนำไปบูรณาการ การประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ที่สำคัญเราต้อง
คำนึงถึงวัตถุประสงค์  ใช้อย่างประหยัดและคุ้มค่าต่อเวลาด้วย


เทคนิคการสอนของอาจารย์
       - อาจารย์สอนแบบมีหลักการให้เหตุผล และสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม
       - อาจารย์สอนโดยตั้งประโยคคำถามมาและให้นักศึกษาช่วยกันคิดวิเคราะห์ และสามารถ
         แสดงความคิดเห็นได้ทุกคน 
       

ประเมินอาจารย์ผู้สอน
       อาจารย์มีความตรงต่อเวลา เตรียมเนื้อหาการสอนมาเต็มที่ สอนแบบไม่ให้นักศึกษารู้สึกเครียด
อาจารย์น่ารัก ให้ความสุข ความรัก รอยยิ้ม กับนักศึกษาทุกครั้ง และยังฝึกให้นักศึกษาเป็นคนที่
มีความมั่นใจ และที่จะกล้าแสดงออกมากขึ้น 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น